สถาบันวิปัสสนาธุระ มจร

พักสายตา


พระครูวินัยธรวัลลพ โกวิโล
ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ
มจร. วังน้อย
ประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย



ภาพงานปฏิบัติธรรม วันที่ 26-28 มีนาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

การส่งและสอบอารมณ์

การส่งและสอบอารมณ์

ความหมาย

การส่งอารมณ์ หมายถึง การนำเอาประสบการณ์อันเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ มาเล่าแก่ผู้มีหน้าที่รับฟัง (พระวิปัสสนาจารย์) เพื่อให้คำแนะนำที่ดีและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมตรงตามสภาวธรรมของผู้ปฏิบัติ

การสอบอารมณ์ หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการและพระสงฆ์ (พระวิปัสสนาจารย์) ว่ามีคุณสมบัติที่จะทำหน้าที่สอบอารมณ์ ให้คำแนะนำวินิจฉัยประเมินผลเพื่อเพิ่มหรือลดลำดับขั้นของการปฏิบัติให้ถูกต้องและตรงกับสภาวธรรมที่แท้จริงของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

หลักการส่งอารมณ์

๑. ต้องมีความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อตัวเอง

๒. ต้องเล่าให้ตรงกับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงในขณะปฏิบัติ

๓. ต้องเล่าไปตามลำดับไม่ควรตัดลัดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น

๔. ต้องตั้งใจเล่าให้เสียงดังพอสมควร

-

วิธีการส่งอารมณ์

-

๑. การนั่งกำหนด (การนั่งสมาธิ)

- ต้องตั้งใจเล่าอย่างมีสติเสียงดังฟังชัดทุกถ้อยคำไม่เนิบนาบเยิ่นเย้อ หรือกวน

- เล่ากึงประสบการณ์ที่นั่งผ่านมา นั่งกำหนดกี่ระยะเวลากี่นาที (อันดับแรก)

- เล่าอารมณ์หลังอาการพองหนอ ยุบหนอ ว่ามีลักษณะหรือรู้อาการเคลื่อนไหว อย่างไร

- จิตใจจดจ่ออยู่ที่อาการพอง ยุบ อย่างต่อเนื่องหรือไม่ (มากหรือน้อย)

- กำหนดได้สะดวกดีและทันปัจจุบันหรือไม่

- กำหนดพอง ยุบ รู้อาการโดยตลอดหรือไม่ คำบริกรรม (นึกในใจ) จิต สติ เป็นไปพร้อมกันหรือไม่

- ขณะกำหนดอยู่เมื่อมีอารมณ์ (สภาวธรรม) อื่นแทรกเข้ามาชัดเจนกว่าอารมณ์ หลักควรจะกำหนดหรือไม่อย่างไร

- เมื่อจิตไม่จดจ่อกับอาการพอง ยุบ เช่น ไปคิดถึงเรื่องราวในอดีตบ้าง อนาคต บ้างผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้หรือไม่ ถ้ากำหนด ๆ อย่างไร

- ถ้ามีเวทนา (ความเสวยอารมณ์) สุข ทุกข์ เจ็บ ปวด เมื่อย คัน ชา เกิดขึ้นชัดเจน ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ กำหนดอย่างไร

- บางครั้ง ความชอบใจ ปลื้มใจ ยินดีพอใจ ไม่ชอบ เกลียด โกรธ ฟุ้งซ่าน รำคราญหงุกหงิด ง่วงซึม ท้อแท้ เบื่อหน่าย เศร้า เหงา วิตกกังวล ลังเล สงสัย เมื่อความ รู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ปรากฏขึ้นในความรู้สึก ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ กำหนดแล้วจาง หายไป ดับไปหรือไม่

- ขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส เย็น ร้อน อ่อนแข็ง เคร่งตึง เคลื่อนไหว เมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ แล้ว มีอะไรเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไปบ้าง

- บางคนนั่งแล้วน้ำลายไหล คอแห้ง เห็นแสงสี เห็นรูปภาพ ตัวเบา ตัวอ่อน ตัวโยก โครง เอนเอียง ตัวสั่น ฯลฯ ปรากฏการณ์เช่นนี้ผู้ปฏิบัติควรกำหนดรู้หรือไม่อย่างไร (เล่าให้พระวิปัสสนาจารย์ฟัง)

- เล่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวถึงถ้ามี

-

๒. การเดินกำหนด (เดินจงกรม)

- เล่าถึงการเดินจงกรม เดินกี่ระยะ เวลากี่นาที

- จิตใจจดจ่อกับคำบริกรรม (นึกในใจ) และเป็นไปพร้อมกันอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนทันปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร

- ขณะเดินจงกรมถ้าเกิดมีสภาวธรรมอื่น ที่ชัดเจนมากกว่าการเดินแทรกเข้ามา ผู้ ปฏิบัติ กำหนดอย่างไร และเกิดอะไรขึ้นขณะกำหนดสภาวธรรมนั้น

- จิตอยู่กับอารมณ์ภายใน (การเดิน) หรืออารมณ์ภายนอก(เช่น เห็น ได้ยิน คิดฯลฯ) มากกว่า

- เมื่อเดินจงกรมอยู่ถ้ามีสภาวธรรมแทรกเข้ามาและชัดเจนมากกว่าในส่วนที่่่กล่าวถึงแล้ว ผู้ปฏิบัติก็พึงเล่าถึงการกำหนดรู้อารมณ์นั้น ๆ ด้วยถ้ามี)ินห - จิตอยู่กับอารมณ์ภายใน )

ดพอง - ยุบ ร)

จำเป็น

-

๓. การกำหนดอิริยาบถย่อย เช่น (รับประทานอาหาร)

- ตั้งใจเล่าถึงอาการเคลื่อนไหวในอิริยาบถเหล่านี้ กำหนดได้หรือไม่ได้ เพราะอะไรไม่ได้เพราะเหตุใด

- การเหลียงดู การคู้เข่าเหยียดออก

- การใช้สังฆาฏิ บาตร และจีวร

- การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม

- การยืน การตื่นนอน การพูด การนั่งอยู่ ฯลฯ

-

หมายเหตุ

เมื่อผู้ปฏิบัติเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ประสบพบมาจริง ๆ ในขณะปฏิบัติ ในแต่ละวันจบลงพึงตั้งใจฟังพระวิปัสสนาจารย์ที่จะให้คำแนะนำตักเตือน ว่าจะเพิ่มหรือลดบทเรียนในการกำหนด การปรับแต่งอินทรีย์ ปละโอวาทต่อไปจนจบ จากนั้นก็พึงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ โดยกำหนดรู้ด้วยทุกครั้ง กำหนดเดินกลับที่พัก และที่ปฏิบัติของตนเองต่อไป

คุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์

๑. เป็นพระภิกษุอยู่ในขั้นเถระภูมิ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป

๒. ได้เรียนและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานมาดี และผ่านญาณมาโดยบริบูรณ์แล้ว

๓. มีความรู้ทางปริยัติ แม้ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญ แต่ก็มีความรู้ดีพอสมควร

๔. มีอินทรีย์สังวร จริยาวัตรงดงาม วางตัวได้เหมาะสมและเป็นที่เคารพศรัทธาของโยคี

๕. สามารถเทศนาเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้ศิษย์มีความรู้ ความเข้าใจ

คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

๒. เป็นผู้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไฟธาตุในท้องทำหน้าที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไป ไม่ ร้อนเกินไป อยู่ระดับปานกลาง เหมาะแก่การทำความเพียร

๓. ไม่เป็นคนโอ่อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนเองตามความเป็นจริงต่อพระบรมศาสดาหรือ ต่อเพื่อนพรหมาจารีผู้รู้

๔. พยายามทำความเพียร ในการละอกุศลธรรมทั้งหลาย และในการเข้าถึงกุศลธรรมทั้ง กลาย มีความเข็มแข็ง บากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญธรรมที่เป็นกุศล

๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญารู้ความเกิดและความดับ รู้ความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ทะลุปรุโปร่งอย่างประเสริฐ

-

สรุปการนั่งกำหนด

นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุกายํ ปณิธาย, ปริมุขํ สติ อุปฺฏฐเปตวา

นั่งคู้บัลลังตั้งกายตรง ตั้งสติ เข้าสู่อารมณ์ (กรรมฐาน) เฉพาะหน้า

-

ก. วิธีปฏิบัติ

๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง คอตรง

๒. ต้องมีสติระลึกรู้อาการ เคลื่อนไหว

๓. ใจจดจ่ออยู่ที่อาการขึ้นๆ ลงๆ ของท้อง

๔. กำหนดที่ตรงสะดือในขณะที่กำหนดต้องหลับตา

๕. ใช้จิตเพ่งดูอาการเคลื่อนไหวบริเวณท้อง

๖. ขณะที่ท้องพองขึ้นกำหนด (บริกรรมหรือนึกในใจ) ว่า พองหนอ

๗. ขณะที่ท้องแฟบลงกำหนดว่า ยุบหนอ

๘. จิตที่รู้อาการพอง ยุบ กับคำบริกรรมและสติระลึกรู้อยู่ต้องเป็นไปพร้อมกันจะไม่ก่อนหรือหลัง

๙. ถ้ามีอารมณ์อื่นแทรกซึ่งชัดเจนว่าต้องทิ้งพอง ยุบ จากนั้นตั้ง

ข. สิ่งที่ไม่พึงกระทำ (ขณะกำหนด)

๑. ไม่นั่งตัวงอ เอน เอียง หรือก้มศีรษะ (เว้นผู้ที่มีสภาพร่างกายเป็นเช่นนั้น)

๒. ไม่ออกเสียงหรือบ่นพึมพำในขณะกำหนดพอง ยุบ

๓. ไม่ลืมตาเพื่อสอดส่ายหาอารมณ์

๔. ไม่พยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เพราะจะทำให้สมาธิขาดความต่อเนื่อง

๕. ไม่ควรนั่งพิง (เว้นกรณีแก้สภาวะหรือจำเป็นจริง ๆ)

๖. ไม่ควรนำคำบริกรรมอื่น อันไม่ตรงตามสภาวะความเป็นจริง

๗. ไม่บังคับลมหายใจเข้า ออก เพื่อจะกำหนดพอง - ยุบ

ค. ข้อยกเว้น (สำหรับบางคนที่กำหนดพอง ยุบ ได้ยาก)

๑. ใช่ฝ่ามือแตะที่หน้าท้องตรงบริเวณสะดือเพียงเบา ๆ

๒. เอาจิตไปจอจ่อที่อาการเคลื่อนไหวของทองที่ดันมือเราขึ้น

๓. เมื่ออาการดังกล่าวละจากฝ่ามือของเราไปพึงเอาใจจดจ่อตั้งสติกำหนดว่า ยุบหนอ

๔. ให้กำหนดอาการนั่งหนอ ถูกหนอ แทนอากรพอง ยุบ หรือบริกรรมในใจเพียงรู้อาการ นั่งเท่านั้น

๕. การกำหนดถูกหนอให้กำหนดตรงกันย้อยที่ด้านขวาสัมผัสพื้นรู้อาการถูกต้องสัมผัส ถูกหนอ"กำหนด

-

สรุปการยืนกำหนด

-

ก. หลักการปฏิบัติ

ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่

ข. วิธีการปฏิบัติ

๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้หลัง

๒. ลืมตาพอประมาณสายตามองไกลทำมุม ๔๕ องศา ประมาณ ๔ ศอก หรือ ๑ วา

๓. เอาจิตใจจดจ่ออยู่ที่อากัปกิริยาของการยืนโดยบริกรรม (นึกในใจ ว่า ยืนหนอ ๓ ครั้ง

๔. ขณะที่นึกในใจว่า ยืนหนอ ต้องรู้สึกตัวว่ายืนอยู่จริง

๕. จิตจดจ่อกับคำบริกรรมและสติกำหนดรู้ต้องเป็นไปพร้อมกันอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

-

ค. ข้อที่ไม่พึงกระทำ (ขณะกำหนด)

๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่น

๒. ไม่ควรก้มหรือเชิดหน้า

๓. ไม่ควรกำหนดพอง ยุบ (เว้นแต่มีกรณีจำเป็น)

๔. ไม่ควรใช่จิตเพ่งดูสัณฐานส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้อง ตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น

สรุปการเดินจงกรม

ก.หลักการปฏิบัติ

คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ เดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้าเดินอยู่

-

ข. วิธีการปฏิบัติ

๑. ตาเตรียมไว้มองประมาณ ๔ ศอก

๒. จิตจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าสติต้องเป็นพร้อมกันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

๓. คำบริกรรม (นึกในใจ) กับจิตและสติต้องเป็นพร้อมกันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

๔. ในขณะที่เดินอยู่ถ้าเกิดมีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนมากกว่าพึงหยุด และกำหนดอารมณ์นั้น ทันที

๕. เดินช้า ๆ จิตจดจ่อ มีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง

๖. พยายามเอาใจใส่ในอาการเคลื่อนไหวในระยะนั้น ๆ ทุก ๆ ขณะของการเดิน

-

ค. สิ่งที่ไม่พึงกระทำขณะกำหนด

๑. ไม่ยกเท้าสูงเกินไป

๒. ไม่ก้าวเท้ายาว หรือท่องบ่นไปด้วย เว้นผู้ใหม่

๓. ไม่ออกเสียง หรือท่องบ่นไปด้วย เว้นผู้ใหม่

๔. ไม่ก้มดูเท้า หรือสัณฐานบัญญัติของเท้า

๕. ไม่ควรเดินช้าจนเกินไปจนราวกับว่าเป็นการแสดง หรือดัดจริต

ง. ข้อยกเว้นบางอย่าง

๑. เดินเร็ว ๆ เพื่อแก้ง่วง

๒. เดินช้ามาก ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ และเห็นการเกิดดับชัดเจน

๓. ออกเสียง หรือบริกรรมด้วยวาจาเป็นเพียงการฝึกให้รู้เท่านั้น

๔. เดินมองธรรมชาติ เพื่อแก้สภาวะบางอย่าง

-

สรุปการกำหนดอิริยาบถย่อย

-

ก. หลักการ

อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ, อาโกกิเต วิโลกิเต สมฺปชานการี โหติ, สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ, สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ สมฺปชานการี โหติ, คเต ฐิเต นิสนฺเน สุตฺเต ชาคริเต ภาสิเต ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ. (ผู้ปฏิบัติ) เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการก้าวไปข้างหน้าในการก้าวกลับหลังเป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการเหยียดออก, เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการกิน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม, เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการนอนหลับ ในการตื่นนอน ในการพูด ในการนั่ง

-

ข. วิธีการปฏิบัติ

๑. ต้องตั้งจิตจดจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวในการกระทำขณะนั้น ๆ

๒. ขณะกำหนดอยู่คำบริกรรมจิตกับสติต้องเป็นไปพร้อมกันทันปัจจุบัน

๓. ควรกำหนดอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง

๔. เมื่อมีอารมณ์หรือสภาวธรรมอย่างอื่นแทรกเข้ามาพึงหยุดการกำหนดก่อนจากนั้นค่อย กลับมากำหนดอิริยาบถนั้นอีก

-

ค. ข้อที่ไม่พึงกระทำ (ขณะกำหนด)

๑. เพ่งมองดูสัณฐานบัญญัติ

๒. บังคับให้เป็นไปตามอำนาจความต้องการของตน

๓. ออกเสียงดัง ๆ หรือท่องบ่นขณะกำหนด

๔. ไม่ควรกำหนดอาการพองหนอ ยุบหนอ

พักสายตา







04วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยากอย่างที่คิด โดย เชมเย สยาดอ

ปฏิจจสมุปบาท

วันนี้ คือ วันที่ 10 สิงหาคม ..2535

จุดประสงค์ในการปฏิบัติสมถกรรมฐาน มีเป้าหมายในการบรรลุถึงสมาธิในระดับที่สูงขึ้นไป อาจเรียกว่า ฌานสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ก็ได้ ฌานสมาธิ(Jhana concentration)แปลว่า สมาธิเพื่อองค์ฌาน-สมาธิที่ตั้งมั่นแน่วแน่นิ่งจับอยู่กับอารมณ์เดียว(fixed concentration) อัปปนาสมาธิ(Appana concentration)แปลว่า สมาธิที่ดูดดื่มแนบสนิทอยู่ในอารมณ์เดียว(absorption concentration) ทั้งสองจึงหมายความอย่างเดียวกัน เพราะเมื่อจิตมีสมาธิจดจ่ออยู่กับอารมณ์กรรมฐานหนึ่งได้เป็นอย่างดีนั้น ผลก็คือ สมาธิจะตั้งมั่นแน่วแน่(fixed firmly)อยู่กับอารมณ์นั้น ขณะเดียวกันก็จะดื่มด่ำแนบสนิทอยู่ในอารมณ์นั้น(absorb into the object)ด้วย ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานบางคนอาจมีจุดประสงค์ที่จะบรรลุถึงอภิญญาญาณและมีความสามารถเหนือธรรมชาติบางอย่างได้ด้วยสมาธิระดับสูงมากๆ ดังเช่นนักบวชหรือฤาษีในโบราณกาลที่มักหลีกเร้นสู่พงไพรและปฏิบัติสมถกรรมฐานเพื่อให้มีสมาธิสูงจนกระทั่งบรรลุอภิญญาต่างๆได้

แม้ว่าผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจะก้าวหน้าจนบรรลุอภิญญาได้แล้วก็ตาม แต่ก็จะยังไม่สามารถประจักษ์แจ้งถึงไตรลักษณ์ของสภาวธรรมทางกายและทางจิตอันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ได้เลย เพราะจุดมุ่งหมายของเขาคือเพื่อบรรลุสู่สมาธิระดับสูง มิใช่เพื่อเข้าไปเห็นสภาวธรรมทางกายและจิตตามความเป็นจริง เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานไม่สามารถเห็นและรู้แจ้งในรูป-นามได้ก็คือ ในขณะที่สมาธิจิตของผู้ปฏิบัติดิ่งลึกอยู่ในอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียวมากๆนั้น สมาธิจะดิ่งลึกเกินกว่าที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถเข้าไปเห็นและประจักษ์แจ้งสภาวธรรมของกายและจิตตามความเป็นจริงได้

จุดประสงค์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็คือ การบรรลุนิพพานการหลุดพ้นจากทุกข์โดยการทำลายกิเลสในจิตใจด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง(สัมมาทิฏฐิ)เกี่ยวกับรูป-นาม ฉะนั้น ประการแรกที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน-กรรมฐานแห่งปัญญาพึงกระทำก็คือ พึงรักษาสมาธิให้ดีในระดับหนึ่ง ที่ไม่ลึกจนเกินไป แต่อยู่ในระดับที่สูงเพียงพอที่จะก่อให้เกิดปัญญาแทงทะลุลงไปหยั่งรู้ความเป็นจริงของสภาวธรรมทางกายและจิตได้ ปัญญาหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นนี้จะทำลายกิเลสในจิตใจ ซึ่งแม้ว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้นั้นจะยังไม่สามารถบรรลุถึงมรรคญาณ-ผลญาณที่กำจัดกิเลสจากจิตใจได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ก็จะสามารถละหรือทำลายกิเลสได้บ้างเป็นบางส่วน

การกำจัดหรือละกิเลสในจิตใจ (บาลีเรียกว่า ปหาน แปลว่า ละ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป) นั้น มี 3 ประเภทด้วยกัน (อันที่จริง ปหานมี 5 ประเภท แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของผู้ปฏิบัติใหม่ ท่านอาจารย์จึงอธิบายไว้เพียง 3 ประเภท) ประเภทที่ 1 คือ ตทังคปหาน หมายถึง การละหรือกำจัดกิเลสเพียงชั่วขณะ ประเภทที่ 2 คือ วิขัมภนปหาน หมายถึง การละหรือกำจัดกิเลสเพียงข่มเอาไว้ และประเภทที่ 3 คือ สมุจเฉทปหาน หมายถึง การละหรือกำจัดกิเลสจนเด็ดขาด ในทั้ง 3 ประเภทนี้ ตทังคปหาน ละหรือกำจัดกิเลสเพียงชั่วขณะด้วยวิปัสสนาญาณ(ปัญญาญาณที่เกิดจากวิปัสสนา) วิขัมภนปหาน ละหรือกำจัดกิเลสได้ ด้วยการข่มไว้ชั่วคราวโดยการข่มไว้ด้วยสมาธิที่ดิ่งลึก ส่วน สมุจเฉทปหาน ละหรือกำจัดกิเลสโดยเด็ดขาดคือ การบรรลุมรรค-ผล นิพพาน (ตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป)

ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติดำรงสติให้ต่อเนื่องและมั่นคงได้ จิตก็จะค่อยๆมีสมาธิเพิ่มขึ้น ยิ่งสติของผู้ปฏิบัติต่อเนื่องดีขึ้นเท่าใด สมาธิก็จะดิ่งลึกลงเพียงนั้น และยิ่งสมาธิดิ่งลึกลงเท่าใด ปัญญาญาณก็จะยิ่งคมชัดขึ้นเท่านั้น ปัญญาญาณที่เฉียบคมจะแทงทะลุลงไปจนหยั่งรู้ความเป็นจริงของสภาวธรรมทางกายและจิตได้

ลองสมมุติว่า ผู้ปฏิบัติได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะและรู้สึกชอบ เพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงนั้น เพราะดีนี่ ฉันชอบ อะไรจะเกิดขึ้น? ความรู้สึกชอบและเพลิดเพลินในเพลงอาศัยหูและเพลงที่ไพเราะจึงเกิดขึ้นได้ และเมื่อผู้ปฏิบัติละเลยไม่กำหนดรู้ว่า ยินหนอยินหนอ ผู้ปฏิบัติก็จะยิ่งเพลิดเพลินกับการได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้ความชอบเพิ่มพลังมากขึ้นด้วย จนเกิดความปรารถนา-อยากฟังซ้ำหรืออยากพบหน้านักร้องเจ้าของเสียงเพลงนั้น นี่คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เพียงเพราะผู้ปฏิบัติไม่ระวังกำหนดรู้เมื่อได้ยินเสียงเพลงว่ายินหนอยินหนอ ก็จะก่อให้เกิดความปรารถนาดิ้นรนอยากฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือดิ้นรนวุ่นวายใจอยากพบอยากเจอนักร้องเพลงนั้นได้

และเมื่อความปรารถนานั้นแรงขึ้นๆ ก็จะเกิดการดิ้นรนกระทำการบางอย่างเพื่อที่จะได้พบหน้านักร้องผู้นั้น การกระทำนั้นอาจดีหรือไม่ดี เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ทั้งสิ้น เมื่อได้พบได้เจอก็อาจสนทนากัน ซึ่งอาจพูดคุยกันในเรื่องที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้อีกเช่นกัน การสนทนาพูดคุยนั้นคือ วจีกรรม ในกรณีนี้ วจีกรรมเป็นผลมาจากความมุ่งมาดปรารถนาที่รุนแรงซึ่งเริ่มต้นมาจากความปรารถนาที่จะได้ยินเพลงธรรมดาๆเท่านั้นเอง

เพราะเหตุใด กิเลสจึงเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่แบบนี้ได้? เป็นเพราะผู้ปฏิบัติเผลอหรือมิได้กำหนดรู้การได้ยินนั่นเอง ความรู้สึกเพลิดเพลินในเสียงเพลงจึงเกิดขึ้นโดยอาศัยหูและเพลงที่ไพเราะเป็นเหตุปัจจัย ตามภาษาบาลีว่า ปัจจยา ผัสโส, ผัสสะปัจจยา เวทนา ปฏิจจสมุปบาท

ผัสสะปัจจยา เวทนา เพราะเรามีหู หูกระทบหรือสัมผัสกับเสียงเพลง การกระทบหรือสัมผัสนั้นเรียกว่า ผัสสะ เกิดโดยอาศัยหูและเสียงเพลงเป็นเหตุปัจจัย การกระทบนั้นก่อให้เกิดความรู้สึกพึงใจหรือไม่พอใจ(เวทนา)ตามมา ผัสสะปัจจยา เวทนา จึงแปลว่า ความรู้สึกพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจอาศัยการกระทบเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

จากความเพลิดเพลินพึงพอใจที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความปรารถนาที่จะฟังเพลงซ้ำแล้วซ้ำอีกหรือปรารถนาจะพบหน้านักร้อง ความปรารถนานี้เกิดจากความพึงพอใจ - เวทนาปัจจยา ตัณหา แปลว่า ความปรารถนาอาศัยความพึงพอใจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

และเมื่อผู้ปฏิบัติมิได้พยายามกำหนดรู้หรือไม่รู้ตัวว่าเกิดความปรารถนานั้นขึ้น ความปรารถนาที่รุนแรงกว่าก็จะเกิดตามมา กลายเป็นความไขว่คว้าเกาะเกี่ยว(อุปาทาน) เมื่อไขว่คว้าเกาะเกี่ยวแล้วก็จะยึดติด แน่น ไม่ยอมปล่อย - ตัณหาปัจจยา อุปาทาน แปลว่า ความไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติดอาศัยความปรารถนาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

การไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติดนั้น ก่อให้เกิดการกระทำบางอย่าง(action or deed)เพื่อพยายามให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ไขว่คว้าเกาะเกี่ยวอยู่ การกระทำนั้นคือ ภพ (ภวะ ในภาษาบาลี)อุปาทานะปัจจยา ภาโว แปลว่า การกระทำอาศัยความไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

การกระทำนั้นก็จะก่อให้เกิดการเกิดใหม่(ชาติ-rebirth)ตามมา การเกิดใหม่ครั้งนี้เป็นผลมาจากการกระทำที่ก่อไว้ในการเกิดครั้งก่อน ภวะปัจจยา ชาติ แปลว่า การเกิดใหม่อาศัยการกระทำที่ก่อไว้ในการเกิดครั้งก่อนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

เมื่อมีการเกิดใหม่อีก ก็ย่อมต้องมีการเสื่อมลง การแก่(ชรา) และ การตาย(มรณะ) – ชาติปัจจยา ชรา มรณา แปลว่า การแก่การตายอาศัยการเกิดใหม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น

เมื่อมีการเกิดใหม่ ก่อนจะตายก็ย่อมจะต้องประสบกับความทุกข์แสนสาหัสทั้งกายและใจอีกเช่นกัน

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างหนึ่งของวงจรปฏิจจสมุปบาท(สภาพธรรมที่อาศัยกันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น)ที่เกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติมิได้กำหนดรู้เมื่อได้ยินเสียงเพลงว่า ยินหนอยินหนอ เริ่มจากการที่เรามีหู หูสัมผัสหรือกระทบกับเสียงเพลง จากการกระทบนั้นจึงเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน (สฬายตนะปัจจยา ผัสโส, ผัสสะปัจจยา เวทนา) สฬายตนะ หมายถึงอวัยวะอันเป็นทวารรับรู้ทั้ง 6 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, ผัสโส คือ การสัมผัสหรือกระทบ เพราะเหตุที่เรามีทวารรับรู้ทั้ง 6 (ในที่นี้คือ หู)จึงเกิดการกระทบกับเสียงเพลง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การกระทบกับเสียงเพลงอาศัยหู(หนึ่งในทวารทั้ง 6)เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น และเมื่อหูกระทบกับเสียงเพลงแล้ว จึงเกิดจิตรับรู้การได้ยินขึ้น ( แม้ว่าเราจะมีหู หากไม่มีเสียงเพลง ก็ย่อมไม่เกิดการกระทบใดๆ ต้องมีทั้งหูและเสียงเพลงจึงจะเกิดการกระทบขึ้น และจากการกระทบจึงจะเกิดจิตที่รับรู้การได้ยินตามมา)

จิตที่รับรู้การได้ยินมีเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันด้วย อันได้แก่ สัญญา(การจำได้หมายรู้-perception), เวทนา (ความรู้สึก-Feeling/sensation), มนสิการ (ความใส่ใจ-attention), เจตนา (ความจงใจ-Volition), ผัสสะ (การกระทบหรือสัมผัส-contact), เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นเพียงหนึ่งเดียว-one-pointedness) และ ชีวิตินทรีย์ (พลังที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้-Vitality/psychic life) ในที่นี้ เจตสิกตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับจิตที่รับรู้การได้ยินคือ เวทนา-ความรู้สึก ซึ่งเด่นชัดมากและมีพลังเหนือกว่าเจตสิกตัวอื่นๆ เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ยินเสียงเพลง พึงรีบกำหนดรู้ว่ายินหนอยินหนอ อย่างจดจ่อ มีพลัง กำหนดเร็วๆจนกระทั่งจิตที่กำหนดรู้มีพลังเพิ่มขึ้นและมีอำนาจเหนือจิตที่รับรู้การได้ยิน ทำให้จิตรับรู้การได้ยินไม่ชัดเจนนัก จึงไม่เกิดการวิเคราะห์ตัดสินตามมาว่าเพลงนั้นไพเราะหรือไม่ และไม่เกิดการไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติดกับเสียงเพลงนั้น ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องจากจิตที่กำหนดรู้รบกวนการได้ยินและมีพลังแรงกว่านั่นเอง

เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ว่า ยินหนอ..ยินหนอนั้น จิตที่รับรู้การได้ยินจะไม่สามารถรับรู้ได้เต็มที่ เป็นเหตุให้ไม่สามารถตัดสินได้ว่าเพลงนั้นไพเราะหรือไม่ น่าเพลิดเพลินหรือไม่ จะเห็นได้ว่า ในกรณีนี้ แม้ว่าจะเกิดการกระทบหรือสัมผัสระหว่างหูกับเสียงเพลง แต่ไม่เกิดความรู้สึกพึงใจหรือไม่พอใจ(เวทนา)ตามมา สติที่กำหนดรู้นี่เองช่วยกำจัดเวทนาออกไป เพียงผู้ปฏิบัติคอยเอาสติกำหนดรู้การได้ยินก็จะไม่เกิดเวทนา-ความรู้สึกพึงใจหรือไม่พอใจตามมา กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สติที่มั่นคงมีพลังจะสามารถกำจัดความรู้สึกหรือบรรเทาให้ความรู้สึก(เวทนา)อ่อนแรงลงได้

เมื่อไม่เกิดความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ ก็ย่อมไม่เกิดความปรารถนาที่จะได้ยินเสียงเพลงซ้ำๆอีก หรือ ไม่เกิดความปรารถนาอยากพบหน้านักร้องเจ้าของเสียงเพลงนั้น กล่าวเป็นบาลีว่า เวทนา นิโรธา ตัณหา นิโรธา เมื่อไม่มีความรู้สึกพึงใจหรือไม่พอใจ(เวทนา) ย่อมไม่เกิดความปรารถนา(ตัณหา)

และเมื่อไม่เกิดความปรารถนา(ตัณหา)ดังนั้น ก็ย่อมไม่เกิดความต้องการไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติด(อุปาทาน) ตัณหานิโรธา อุปาทานะ นิโรธา

ไม่มีความต้องการไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติด(อุปาทาน) ก็ย่อมไม่เกิดการกระทำใดๆ(ภะวะ-ภพ)ที่พยายามให้ได้สิ่งที่ไขว่คว้าเกาะเกี่ยวยึดติดนั้นมา อุปาทานะ นิโรธา ภวะ นิโรธา

และเมื่อไม่เกิดการกระทำใดๆ(ภะวะ-ภพ) ก็ย่อมไม่มีการเกิดใหม่(ชาติ) (ในที่นี้ ว่าด้วยจิตที่รับรู้การได้ยิน) ภวะ นิโรธา ชาติ นิโรธา การเกิดใหม่ของผู้ปฏิบัติยุติลงตรงนี้เอง

และแล้ว สภาวะธรรมทางกายและทางจิตของผู้ปฏิบัติก็ยุติลงเพียงนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ความทุกข์ทั้งมวลก็ดับลง ผู้ปฏิบัติไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป ในกรณีนี้ ด้วยการเอาสติกำหนดรู้การได้ยินเสียงเพลงว่า ยินหนอ..ยินหนอนี่เอง

นี่คือวิธีการปิดประตู(ทวาร)ด้วยสตินั่นเอง ในที่นี้ประตูทางหู-โสตทวารถูกปิดด้วยสติของผู้ปฏิบัติ ทำให้ศัตรูคือตัณหา(โดยมีเวทนา-ความรู้สึกเป็นกองหน้า)ไม่สามารถบุกเข้ามาจู่โจมได้ แม้เมื่อผู้ปฏิบัติได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะ หากมีสติที่เข้มแข็งมั่นคงต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและกำหนดรู้ว่ายินหนอ...ยินหนอผู้ปฏิบัติก็สามารถปิดโสตทวารจนกิเลสใดๆก็ไม่สามารถรุกรานเข้ามาได้

ผู้ปฏิบัติสามารถใช้วิธีนี้ในการปิดอีก ทวารที่เหลือด้วยเช่นกัน เมื่อเห็น พึงกำหนดรู้ว่าเห็นหนอ...เห็นหนอเพื่อเปิดประตูทางตา(จักขุทวาร) เมื่อได้ยิน พึงกำหนดรู้ว่ายินหนอ...ยินหนอเพื่อปิดประตูทางหู(โสตทวาร) เมื่อได้กลิ่น พึงกำหนดรู้ว่ากลิ่นหนอ...กลิ่นหนอเพื่อเปิดประตูทางจมูก(ฆานทวาร)

เมื่อรับประทานอาหาร ผู้ปฏิบัติพึงตั้งใจกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวและสภาวธรรมทางกายต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ตักหนอ” “อ้า(ปาก)หนอ” “ใส่(ปาก)หนอ” “เคี้ยวหนอ” “รสหนอฯลฯ การกำหนดรู้สภาวธรรมทางกายและทางจิตต่างๆด้วยพลังของสติอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ปฏิบัติไม่สามารถเพลิดเพลินกับอาหารที่รับประทานอยู่ เป็นการปิดประตูทางลิ้น(ชิวหาทวาร)

ตัวอย่างเช่น ในขณะรับประทานอาหาร หากผู้ปฏิบัติรับรู้รสของอาหารว่ามีรสหวานและกำหนดรู้อยู่ว่า เคี้ยวหนอ..เคี้ยวหนอหรือ หวานหนอ...หวานหนอเมื่อสติมีกำลังมากขึ้นจนกระทั่งผู้ปฏิบัติสามารถเข้าไปเห็นความจริงในขณะนั้นว่า มีเพียงอาการเคี้ยวที่กำลังเกิดอยู่ หรือ มีเพียงอาการบดกันของขากรรไกรทั้งสองกำลังเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง และเพียงรู้สึกว่ามีวัตถุใดวัตถุหนึ่งแทรกอยู่ตรงกลางและถูกบดถูกเคี้ยวอยู่เท่านั้น ในขณะนั้นผู้ปฏิบัติจะมิได้รับรู้รสอาหารและไม่รู้สึกถึงรสหวานเหมือนตอนเริ่มต้น การที่ผู้ปฏิบัติไม่รู้สึกว่ามีรสหวานนั่นเองที่ทำให้ไม่เกิดความพึงพอใจและปรารถนาจะเพลิดเพลินในรสนั้น แต่ถ้าผู้ปฏิบัติกำหนดต่อเนื่องไปอย่างมีพลังและเพิ่มความละเอียดในการกำหนดยิ่งขึ้น ผู้ปฏิบัติอาจจะเริ่มรู้สึกคลื่นไส้ใคร่อาเจียนเพราะเกิดความรังเกียจในอาหารนั้น นี่มิใช่วิธีที่ถูกต้อง ความรังเกียจนั้นเป็นโทสะซึ่งเป็นกิเลสประเภทหนึ่งเช่นกัน วิธีที่ถูกต้องคือผู้ปฏิบัติพึงมีความรู้สึกที่เป็นกลาง ไม่มีทั้งความพึงใจหรือความไม่พอใจ ถ้าพึงใจก็จะเกิดความปรารถนา(ตัณหา)ตามมา เมื่อไม่พอใจก็จะเกิดความรังเกียจ(โทสะ)ตามมา วิธีรักษาความรู้สึกให้เป็นกลางก็ด้วยการเอาสติกำหนดรู้อาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ผู้ปฏิบัติก็จะปิดประตูทางลิ้น(ชิวหาทวาร)ได้

วิธีที่กล่าวมานี้เรียกว่า อินทรีย์สังวร(การสำรวมอินทรีย์) อินทรีย์ หมายถึงทวารทั้ง ๖ที่รับรู้ความรู้สึก สังวรหมายถึงการปิดกั้น ผู้ปฏิบัติพึงปิดกั้นประตูเหล่านี้ด้วยสติ เมื่อได้ยินก็พึงกำหนดรู้ว่ายินหนอเมื่อเห็นก็พึงกำหนดรู้ว่าเห็นหนอเมื่อได้กลิ่นก็พึงกำหนดรู้ว่ากลิ่นหนอเมื่อรับรู้รสก็พึงกำหนดรู้ว่ารสหนอหรือเคี้ยวหนอเมื่อสัมผัสก็พึงกำหนดรู้ว่าถูกหนอและหากรู้สึกถึงความนุ่มความแข็งก็พึงกำหนดรู้ว่านุ่มหนอหรือแข็งหนอซึ่งจะทำให้กิเลสเข้ามาแทรกมิได้ เพราะผู้ปฏิบัติมีสติรู้การสัมผัสอยู่

เมื่อสมาธิของผู้ปฏิบัติดิ่งลึกลงจนเกิดปัญญาที่แจ่มชัดยิ่งขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะเริ่มเห็นว่าจิตที่รับรู้การได้ยินนั้นเกิดขึ้นและดับไป...เกิดขึ้นและดับไป...ซึ่งเป็นการเข้าไปเห็นความเป็นอนิจจัง เมื่อประจักษ์แจ้งเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติก็จะไม่เกิดความพึงพอใจหรือรังเกียจอีกต่อไป ไม่มีกิเลสใดๆในจิตใจ นี่เองคือจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน-การบรรลุสู่การดับทุกข์ด้วยการหยั่งรู้สภาวธรรมทางกายและทางจิตตามความเป็นจริง ในขณะที่จุดมุ่งหมายของสมถกรรมฐานคือการบรรลุสู่สมาธิขั้นสูงขึ้นไปเท่านั้น

ในขณะที่ผู้ปฏิบัติได้ยินเสียงเพลง หากผู้ปฏิบัติไม่มีสติกำหนดรู้ว่ายินหนอ...ยินหนอได้ทันก็จะเกิดความพึงพอใจและความปรารถนาตามมา แต่ถ้ามีสติกำหนดรู้ได้มั่นคง ต่อเนื่อง สมาธิที่ดิ่งลึกจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้รับรู้ว่า มีเพียงการได้ยิน เสียงที่ได้ยิน และจิตที่รับรู้การได้ยินเท่านั้นที่เกิดขึ้น นี่คือวิปัสสนาญาณที่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ปัญญาญาณที่หยั่งรู้นี้เองที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติละหรือกำจัดกิเลสบางอย่าง(ที่เกิดขึ้น หากผู้ปฏิบัติละเลยการกำหนดรู้)ออกไปจากจิตใจได้

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากกิเลสที่ถูกขจัดออกไปแล้วก็ยังคงมีกิเลสตัวอื่นๆเหลืออยู่อีก อาทิเช่น ในขณะที่มองเห็นก็อาจเกิดความปรารถนาที่จะเห็นอีก หากได้ลิ้มรสก็อาจเกิดความปรารถนาที่จะลิ้มรสนั้นอีก ความปรารถนานั้นมีทั้งตัณหาและโลภะ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้การลิ้มรสก็อาจจะละหรือกำจัดตัณหาออกไปได้ แต่โลภะก็ยังมิได้ถูกแตะต้อง การกำหนดรู้การได้ยินซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องช่วยให้ผู้ปฏิบัติละหรือกำจัดเพียงตัณหา-ซึ่งเป็นกิเลสบางส่วนออกไปได้เท่านั้น คงจะจำกันได้ว่า การละหรือกำจัดกิเลสในจิตใจที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ในตอนต้นนั้นมี 3 ประเภทด้วยกัน ตัวอย่างที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า วิปัสสนาญาณนั้นสามารถละหรือกำจัดกิเลสไปได้บางส่วน(ตทังคะปหาน)นั่นเอง

อาตมาขออำนวยพรให้ศิษย์ทุกคนมีสติที่มั่นคง พึงใช้สตินั้นปิดกั้นประตูทั้ง ทวาร และบรรลุสู่จุดหมายด้วยกันทุกคน เทอญ