สถาบันวิปัสสนาธุระ มจร

การส่งและสอบอารมณ์

การส่งและสอบอารมณ์

ความหมาย

การส่งอารมณ์ หมายถึง การนำเอาประสบการณ์อันเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ มาเล่าแก่ผู้มีหน้าที่รับฟัง (พระวิปัสสนาจารย์) เพื่อให้คำแนะนำที่ดีและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมตรงตามสภาวธรรมของผู้ปฏิบัติ

การสอบอารมณ์ หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการและพระสงฆ์ (พระวิปัสสนาจารย์) ว่ามีคุณสมบัติที่จะทำหน้าที่สอบอารมณ์ ให้คำแนะนำวินิจฉัยประเมินผลเพื่อเพิ่มหรือลดลำดับขั้นของการปฏิบัติให้ถูกต้องและตรงกับสภาวธรรมที่แท้จริงของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

หลักการส่งอารมณ์

๑. ต้องมีความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อตัวเอง

๒. ต้องเล่าให้ตรงกับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงในขณะปฏิบัติ

๓. ต้องเล่าไปตามลำดับไม่ควรตัดลัดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น

๔. ต้องตั้งใจเล่าให้เสียงดังพอสมควร

-

วิธีการส่งอารมณ์

-

๑. การนั่งกำหนด (การนั่งสมาธิ)

- ต้องตั้งใจเล่าอย่างมีสติเสียงดังฟังชัดทุกถ้อยคำไม่เนิบนาบเยิ่นเย้อ หรือกวน

- เล่ากึงประสบการณ์ที่นั่งผ่านมา นั่งกำหนดกี่ระยะเวลากี่นาที (อันดับแรก)

- เล่าอารมณ์หลังอาการพองหนอ ยุบหนอ ว่ามีลักษณะหรือรู้อาการเคลื่อนไหว อย่างไร

- จิตใจจดจ่ออยู่ที่อาการพอง ยุบ อย่างต่อเนื่องหรือไม่ (มากหรือน้อย)

- กำหนดได้สะดวกดีและทันปัจจุบันหรือไม่

- กำหนดพอง ยุบ รู้อาการโดยตลอดหรือไม่ คำบริกรรม (นึกในใจ) จิต สติ เป็นไปพร้อมกันหรือไม่

- ขณะกำหนดอยู่เมื่อมีอารมณ์ (สภาวธรรม) อื่นแทรกเข้ามาชัดเจนกว่าอารมณ์ หลักควรจะกำหนดหรือไม่อย่างไร

- เมื่อจิตไม่จดจ่อกับอาการพอง ยุบ เช่น ไปคิดถึงเรื่องราวในอดีตบ้าง อนาคต บ้างผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้หรือไม่ ถ้ากำหนด ๆ อย่างไร

- ถ้ามีเวทนา (ความเสวยอารมณ์) สุข ทุกข์ เจ็บ ปวด เมื่อย คัน ชา เกิดขึ้นชัดเจน ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ กำหนดอย่างไร

- บางครั้ง ความชอบใจ ปลื้มใจ ยินดีพอใจ ไม่ชอบ เกลียด โกรธ ฟุ้งซ่าน รำคราญหงุกหงิด ง่วงซึม ท้อแท้ เบื่อหน่าย เศร้า เหงา วิตกกังวล ลังเล สงสัย เมื่อความ รู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ปรากฏขึ้นในความรู้สึก ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ กำหนดแล้วจาง หายไป ดับไปหรือไม่

- ขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส เย็น ร้อน อ่อนแข็ง เคร่งตึง เคลื่อนไหว เมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ แล้ว มีอะไรเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไปบ้าง

- บางคนนั่งแล้วน้ำลายไหล คอแห้ง เห็นแสงสี เห็นรูปภาพ ตัวเบา ตัวอ่อน ตัวโยก โครง เอนเอียง ตัวสั่น ฯลฯ ปรากฏการณ์เช่นนี้ผู้ปฏิบัติควรกำหนดรู้หรือไม่อย่างไร (เล่าให้พระวิปัสสนาจารย์ฟัง)

- เล่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวถึงถ้ามี

-

๒. การเดินกำหนด (เดินจงกรม)

- เล่าถึงการเดินจงกรม เดินกี่ระยะ เวลากี่นาที

- จิตใจจดจ่อกับคำบริกรรม (นึกในใจ) และเป็นไปพร้อมกันอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนทันปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร

- ขณะเดินจงกรมถ้าเกิดมีสภาวธรรมอื่น ที่ชัดเจนมากกว่าการเดินแทรกเข้ามา ผู้ ปฏิบัติ กำหนดอย่างไร และเกิดอะไรขึ้นขณะกำหนดสภาวธรรมนั้น

- จิตอยู่กับอารมณ์ภายใน (การเดิน) หรืออารมณ์ภายนอก(เช่น เห็น ได้ยิน คิดฯลฯ) มากกว่า

- เมื่อเดินจงกรมอยู่ถ้ามีสภาวธรรมแทรกเข้ามาและชัดเจนมากกว่าในส่วนที่่่กล่าวถึงแล้ว ผู้ปฏิบัติก็พึงเล่าถึงการกำหนดรู้อารมณ์นั้น ๆ ด้วยถ้ามี)ินห - จิตอยู่กับอารมณ์ภายใน )

ดพอง - ยุบ ร)

จำเป็น

-

๓. การกำหนดอิริยาบถย่อย เช่น (รับประทานอาหาร)

- ตั้งใจเล่าถึงอาการเคลื่อนไหวในอิริยาบถเหล่านี้ กำหนดได้หรือไม่ได้ เพราะอะไรไม่ได้เพราะเหตุใด

- การเหลียงดู การคู้เข่าเหยียดออก

- การใช้สังฆาฏิ บาตร และจีวร

- การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม

- การยืน การตื่นนอน การพูด การนั่งอยู่ ฯลฯ

-

หมายเหตุ

เมื่อผู้ปฏิบัติเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ประสบพบมาจริง ๆ ในขณะปฏิบัติ ในแต่ละวันจบลงพึงตั้งใจฟังพระวิปัสสนาจารย์ที่จะให้คำแนะนำตักเตือน ว่าจะเพิ่มหรือลดบทเรียนในการกำหนด การปรับแต่งอินทรีย์ ปละโอวาทต่อไปจนจบ จากนั้นก็พึงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ โดยกำหนดรู้ด้วยทุกครั้ง กำหนดเดินกลับที่พัก และที่ปฏิบัติของตนเองต่อไป

คุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์

๑. เป็นพระภิกษุอยู่ในขั้นเถระภูมิ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป

๒. ได้เรียนและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานมาดี และผ่านญาณมาโดยบริบูรณ์แล้ว

๓. มีความรู้ทางปริยัติ แม้ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญ แต่ก็มีความรู้ดีพอสมควร

๔. มีอินทรีย์สังวร จริยาวัตรงดงาม วางตัวได้เหมาะสมและเป็นที่เคารพศรัทธาของโยคี

๕. สามารถเทศนาเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้ศิษย์มีความรู้ ความเข้าใจ

คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

๒. เป็นผู้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไฟธาตุในท้องทำหน้าที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไป ไม่ ร้อนเกินไป อยู่ระดับปานกลาง เหมาะแก่การทำความเพียร

๓. ไม่เป็นคนโอ่อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนเองตามความเป็นจริงต่อพระบรมศาสดาหรือ ต่อเพื่อนพรหมาจารีผู้รู้

๔. พยายามทำความเพียร ในการละอกุศลธรรมทั้งหลาย และในการเข้าถึงกุศลธรรมทั้ง กลาย มีความเข็มแข็ง บากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญธรรมที่เป็นกุศล

๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญารู้ความเกิดและความดับ รู้ความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ทะลุปรุโปร่งอย่างประเสริฐ

-

สรุปการนั่งกำหนด

นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุกายํ ปณิธาย, ปริมุขํ สติ อุปฺฏฐเปตวา

นั่งคู้บัลลังตั้งกายตรง ตั้งสติ เข้าสู่อารมณ์ (กรรมฐาน) เฉพาะหน้า

-

ก. วิธีปฏิบัติ

๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง คอตรง

๒. ต้องมีสติระลึกรู้อาการ เคลื่อนไหว

๓. ใจจดจ่ออยู่ที่อาการขึ้นๆ ลงๆ ของท้อง

๔. กำหนดที่ตรงสะดือในขณะที่กำหนดต้องหลับตา

๕. ใช้จิตเพ่งดูอาการเคลื่อนไหวบริเวณท้อง

๖. ขณะที่ท้องพองขึ้นกำหนด (บริกรรมหรือนึกในใจ) ว่า พองหนอ

๗. ขณะที่ท้องแฟบลงกำหนดว่า ยุบหนอ

๘. จิตที่รู้อาการพอง ยุบ กับคำบริกรรมและสติระลึกรู้อยู่ต้องเป็นไปพร้อมกันจะไม่ก่อนหรือหลัง

๙. ถ้ามีอารมณ์อื่นแทรกซึ่งชัดเจนว่าต้องทิ้งพอง ยุบ จากนั้นตั้ง

ข. สิ่งที่ไม่พึงกระทำ (ขณะกำหนด)

๑. ไม่นั่งตัวงอ เอน เอียง หรือก้มศีรษะ (เว้นผู้ที่มีสภาพร่างกายเป็นเช่นนั้น)

๒. ไม่ออกเสียงหรือบ่นพึมพำในขณะกำหนดพอง ยุบ

๓. ไม่ลืมตาเพื่อสอดส่ายหาอารมณ์

๔. ไม่พยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เพราะจะทำให้สมาธิขาดความต่อเนื่อง

๕. ไม่ควรนั่งพิง (เว้นกรณีแก้สภาวะหรือจำเป็นจริง ๆ)

๖. ไม่ควรนำคำบริกรรมอื่น อันไม่ตรงตามสภาวะความเป็นจริง

๗. ไม่บังคับลมหายใจเข้า ออก เพื่อจะกำหนดพอง - ยุบ

ค. ข้อยกเว้น (สำหรับบางคนที่กำหนดพอง ยุบ ได้ยาก)

๑. ใช่ฝ่ามือแตะที่หน้าท้องตรงบริเวณสะดือเพียงเบา ๆ

๒. เอาจิตไปจอจ่อที่อาการเคลื่อนไหวของทองที่ดันมือเราขึ้น

๓. เมื่ออาการดังกล่าวละจากฝ่ามือของเราไปพึงเอาใจจดจ่อตั้งสติกำหนดว่า ยุบหนอ

๔. ให้กำหนดอาการนั่งหนอ ถูกหนอ แทนอากรพอง ยุบ หรือบริกรรมในใจเพียงรู้อาการ นั่งเท่านั้น

๕. การกำหนดถูกหนอให้กำหนดตรงกันย้อยที่ด้านขวาสัมผัสพื้นรู้อาการถูกต้องสัมผัส ถูกหนอ"กำหนด

-

สรุปการยืนกำหนด

-

ก. หลักการปฏิบัติ

ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่

ข. วิธีการปฏิบัติ

๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้หลัง

๒. ลืมตาพอประมาณสายตามองไกลทำมุม ๔๕ องศา ประมาณ ๔ ศอก หรือ ๑ วา

๓. เอาจิตใจจดจ่ออยู่ที่อากัปกิริยาของการยืนโดยบริกรรม (นึกในใจ ว่า ยืนหนอ ๓ ครั้ง

๔. ขณะที่นึกในใจว่า ยืนหนอ ต้องรู้สึกตัวว่ายืนอยู่จริง

๕. จิตจดจ่อกับคำบริกรรมและสติกำหนดรู้ต้องเป็นไปพร้อมกันอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

-

ค. ข้อที่ไม่พึงกระทำ (ขณะกำหนด)

๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่น

๒. ไม่ควรก้มหรือเชิดหน้า

๓. ไม่ควรกำหนดพอง ยุบ (เว้นแต่มีกรณีจำเป็น)

๔. ไม่ควรใช่จิตเพ่งดูสัณฐานส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้อง ตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น

สรุปการเดินจงกรม

ก.หลักการปฏิบัติ

คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ เดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้าเดินอยู่

-

ข. วิธีการปฏิบัติ

๑. ตาเตรียมไว้มองประมาณ ๔ ศอก

๒. จิตจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าสติต้องเป็นพร้อมกันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

๓. คำบริกรรม (นึกในใจ) กับจิตและสติต้องเป็นพร้อมกันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

๔. ในขณะที่เดินอยู่ถ้าเกิดมีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนมากกว่าพึงหยุด และกำหนดอารมณ์นั้น ทันที

๕. เดินช้า ๆ จิตจดจ่อ มีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง

๖. พยายามเอาใจใส่ในอาการเคลื่อนไหวในระยะนั้น ๆ ทุก ๆ ขณะของการเดิน

-

ค. สิ่งที่ไม่พึงกระทำขณะกำหนด

๑. ไม่ยกเท้าสูงเกินไป

๒. ไม่ก้าวเท้ายาว หรือท่องบ่นไปด้วย เว้นผู้ใหม่

๓. ไม่ออกเสียง หรือท่องบ่นไปด้วย เว้นผู้ใหม่

๔. ไม่ก้มดูเท้า หรือสัณฐานบัญญัติของเท้า

๕. ไม่ควรเดินช้าจนเกินไปจนราวกับว่าเป็นการแสดง หรือดัดจริต

ง. ข้อยกเว้นบางอย่าง

๑. เดินเร็ว ๆ เพื่อแก้ง่วง

๒. เดินช้ามาก ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ และเห็นการเกิดดับชัดเจน

๓. ออกเสียง หรือบริกรรมด้วยวาจาเป็นเพียงการฝึกให้รู้เท่านั้น

๔. เดินมองธรรมชาติ เพื่อแก้สภาวะบางอย่าง

-

สรุปการกำหนดอิริยาบถย่อย

-

ก. หลักการ

อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ, อาโกกิเต วิโลกิเต สมฺปชานการี โหติ, สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ, สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ สมฺปชานการี โหติ, คเต ฐิเต นิสนฺเน สุตฺเต ชาคริเต ภาสิเต ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ. (ผู้ปฏิบัติ) เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการก้าวไปข้างหน้าในการก้าวกลับหลังเป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการเหยียดออก, เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการกิน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม, เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการนอนหลับ ในการตื่นนอน ในการพูด ในการนั่ง

-

ข. วิธีการปฏิบัติ

๑. ต้องตั้งจิตจดจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวในการกระทำขณะนั้น ๆ

๒. ขณะกำหนดอยู่คำบริกรรมจิตกับสติต้องเป็นไปพร้อมกันทันปัจจุบัน

๓. ควรกำหนดอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง

๔. เมื่อมีอารมณ์หรือสภาวธรรมอย่างอื่นแทรกเข้ามาพึงหยุดการกำหนดก่อนจากนั้นค่อย กลับมากำหนดอิริยาบถนั้นอีก

-

ค. ข้อที่ไม่พึงกระทำ (ขณะกำหนด)

๑. เพ่งมองดูสัณฐานบัญญัติ

๒. บังคับให้เป็นไปตามอำนาจความต้องการของตน

๓. ออกเสียงดัง ๆ หรือท่องบ่นขณะกำหนด

๔. ไม่ควรกำหนดอาการพองหนอ ยุบหนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น