เริ่มเจริญวิปัสสนา
การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่างแบบคิดว่าพอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น การปฏิบัติแบบคิดว่าพอเป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความจ่ริง และไม่ใช่นักปฏิบัติ ปฏิบัติตามเขา พอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนา คนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสี่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิก แล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไปโฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏ เป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้น นักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่งทำให้ศาสนาเสี่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง
ก่อนพิจารณาวิปัสสนา
ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อน เข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌาน จนเต็มกำลังสมาธิที่ได้ เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อย ๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้นอย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จะเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลือนไปญาณต่อไปเป็นลำดับ ทุกญาณปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไ่ม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ
นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่วิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วน ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบรูณ์ บารมี ๑๐ ดังต่อไปนี้
๑.ทาน คือการให้ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบรูณ์ เต็มใจในการให้ทานเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในการให้ทาน
๒.ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ล่ะเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล
๓.เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือสิกขาบท อย่างเคร่งครัด ถ้าเป็นฆาราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำปฐมฌาน
๔. ปัญญามีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฏธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นปกติ
๕.วิริยะ มีความเพียร เป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติคเพื่อมรรคผล
๖.ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจ
๗. สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
๘.อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งไว้ เช่นสมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ พระองค์ทรงอธิษฐษนว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จพระโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี่ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป หรือชีวิตจะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามที พระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลก แล้วพระองค์ทรงบรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วสำเร็จทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
๙.เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็นเมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันราย อย่างนี้ไม่มีหวัง
๑๐.อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดข้องใจ อารมณ์ที่ถูกใจรับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไป ไม่มีอะไรน่ายึดถึ พบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตกว่า เรื่องอย่างนี้มันเป็นธรรมดาของโลกแท้ ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง
บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมาก ถ้านักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบรูณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็นผู้พร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติกรรมฐษนเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ไม่ให้บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ
การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่างแบบคิดว่าพอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น การปฏิบัติแบบคิดว่าพอเป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความจ่ริง และไม่ใช่นักปฏิบัติ ปฏิบัติตามเขา พอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนา คนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสี่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิก แล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไปโฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏ เป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้น นักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่งทำให้ศาสนาเสี่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง
ก่อนพิจารณาวิปัสสนา
ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อน เข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌาน จนเต็มกำลังสมาธิที่ได้ เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อย ๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้นอย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จะเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลือนไปญาณต่อไปเป็นลำดับ ทุกญาณปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไ่ม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ
นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่วิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วน ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบรูณ์ บารมี ๑๐ ดังต่อไปนี้
๑.ทาน คือการให้ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบรูณ์ เต็มใจในการให้ทานเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหวในการให้ทาน
๒.ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ล่ะเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล
๓.เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือสิกขาบท อย่างเคร่งครัด ถ้าเป็นฆาราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำปฐมฌาน
๔. ปัญญามีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฏธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นปกติ
๕.วิริยะ มีความเพียร เป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติคเพื่อมรรคผล
๖.ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจ
๗. สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
๘.อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งไว้ เช่นสมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ พระองค์ทรงอธิษฐษนว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จพระโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี่ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป หรือชีวิตจะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามที พระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลก แล้วพระองค์ทรงบรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วสำเร็จทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
๙.เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็นเมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันราย อย่างนี้ไม่มีหวัง
๑๐.อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดข้องใจ อารมณ์ที่ถูกใจรับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไป ไม่มีอะไรน่ายึดถึ พบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตกว่า เรื่องอย่างนี้มันเป็นธรรมดาของโลกแท้ ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง
บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมาก ถ้านักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบรูณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็นผู้พร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติกรรมฐษนเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ไม่ให้บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ
วิปัสสนาญาณสามนัย
วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ
๑.พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ ๙ ตามนัยวิสุทธิมรรค ที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์รจนาไว้
๒.พิจารณาตามนัยอริยสัจ ๔
๓.พิจารณาขันธ์ ๕ ตามในพระไตรปิฎก ที่มีมาในขันธวรรค
ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับ ตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ เพราะเป็นการค่อยปลดค่อยเปลื้องตามลำดับที่ละน้อย ไม่หนักอก หนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาแบบรวม ๆ ในขันธ์ ๕ เพราะเป็นการสะดวก เหมาะแก่อารมณ์ บางที่ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจนี้ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเอง และนำมาสอนปัญจัควัคคีย์ เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐม ก็เพราะได้ฟังอริบสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือให้เห็นอนัตตาในขันธ์ ๕ เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคและในขันธวรรค ในพระไตรปิฎกว่า ผู้ใดเห็นขันธ์ ๕ ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจ ผู้ใดเห็นอริยสัจก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ ๕
วิปัสสนาญาณ ๙
๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
๒.ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
๓.ภยตูปัฏฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
๖.มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘.สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่าควรวางเฉยในสังขาร
๙.สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
ญาณทั้ง ๙นี้เป็นญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณที่ ๙ นั้นเป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณาครบ ๘ ญาณแล้วต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง ๘นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไป ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘แล้วพิจารณาตั้งแต่ ญาณ ที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆญาณ และจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ คือ จิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฏธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อน ก็ไม่มีทุกข์ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใด ๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฏธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้อาการอย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำ ความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้น คำว่าครองงำหมายถึง ความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราตาย ไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธ ในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดโกรธทำไม แล้วอารมณ์ก็หายไป นอกจากระงับความหวั่นไหวที่เคยเกิด เคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตยังมีความรักในพระนิพพานได้ทุกขณะยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกได้ทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะ มีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติ คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืน เดินทำกิจการงานอยู่ก็ตาม จิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรักขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียก ทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพัน คนรักมีอารมณ์ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุทเฉทปหาน คือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่า ได้อริยมรรคต้น คือเป็นพระโสดาบัน ต่อนี้ไปจะได้อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นอันดับไปเป็นข้อ ๆ
๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่าสังขารหมายถึงสิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้ มีความเกิดขึ้นในเบื่องต้นแล้ว แต่ไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคนที่เกิดแล้วตาย ของที่มีขึ้นแล้วแตกสลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักแลไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต คิดว่าไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหวในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเราไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาลไม่มี รักาษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยย้ายไปพิจาณาญาณที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณจึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึกและหาทางโฆษณาว่า ฉันทำมาแล้วหลายปี ไม่เห็นมีอะไรเลย จงรักษาระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้มข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆตามใจนึก
๒.ภังคานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิดและความดับสิ้นเมื่อปลายมีอ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจาณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติทุกวัน ทุกเวลา คือพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมด ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คนสัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่างให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตามความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านี้นั้นค่อย ๆ เก่าลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และค่อย ๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจากเป็นของใหม่ค่อย ๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งใบที่ไสว กลายเป็นต้นไม้ที่ค่อย ๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็นอาการของความสลายตัวทีละน้อยค่อย ๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่ คือความดับสิ้นในที่สุด ค่อยพิจารณาให้เห็นชัดแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่า ไม่มีอะไรมันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อย ๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็เช่นกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่ มีสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อย ๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อย ทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับเลยแม้แต่เสี้ยวินาที ปกติเป็นอย่างนี้ จิตหายความหวั่นไหว เพราะเข้าใจและคิดอยู่รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ
๓.ภยตูปัฏฐานญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ท่านหมายถึงให้กลัว เพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขารเมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไป เพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรค มีโรคภัยนานาชนิดที่คอยเบียดเบียนเสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มี โรคหิวก็รบกวนตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วก็กินอีก กินในบ้านก็แล้วกินนอกบ้านก็แล้ว อาหารราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิว ถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของมัน ฉะนั้น โรคที่สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้นคือโรคหิวดังพระบาลีว่า ชิฆจุฉา ปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่าง ๆ มีขึ้นได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ ในที่สุดก็ถึงความแตกดับก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ควรจะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป
๔.อาทีวานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความจริงญาณนี้คล้ายกับญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้นเป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้วฉะนั้นข้อนี้จึงไม่ต้องอธิบาย โปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจารณา
๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้วดับในที่สุดประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่าทุกลมหายใจเข้าออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัย เพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติและทำลายในที่สุดประการหนึ่ง สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขารนี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญา ความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ มาร่วมพิจารณาด้วยจะเห็นเหตุผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้วนั้นเราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้วเอาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมาก เกิดความเบื่อหน่ายในสังขาอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารักได้เลย
๖.มุญจิตุกัมมยตาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้วจากญาณต้น ๆว่า เกิดแล้วก็ดับมีความดับเป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์เพราะโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะหาความเที่ยงความแน่นอนไม่ได้ ท่านให้พยายามหาทางพ้นต่อไป ด้วยกายพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มีสังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลย การที่หาทางเบื่อหน่ายท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้
๑.ชรา ความแก มรณะ ความตายเป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาต คือความเกิด
๒.ชาติ ความเกิดได้ เพราะภพ คือความเป็นอยู่
๓.ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้เพราะอาศัยอุปาทาน ความยึดมั่น
๔.อุปาทาน ความยึดมั่น มีขึ้นได้เพราะอาศัยตัณหา คือความทะยานอยาก คืออยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ
๕.ตัณหา มีได้เพราะอาศัยเวทนา คืออารมณ์ที่รู้สึกสุข ทุกข์ และเฉย ๆ
๖.เวทนา มีขึ้นได้เพราะอาศัย ผัสสะ คือการกระทบกระทั่ง
๗.ผัสสะ มีขึ้นได้เพราะอาศัยอายตนะ ๖ คือตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ชอบใจและไม่ชอบใจที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณืที่เกิดแก่ใจ
๘.อายตนะ ๖ มีขี้นได้เพราะอาศัยนาม และรูป คือขันธ์ ๕ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือร่างกายเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม ท่านรวมเป็นทั้งรูปทั้งนามว่า นามรูป
๙.นามรูป มีขึ้นได้เพราะมีสังขาร
๑๐.สังขารมีขึ้นได้ เพราะอาศัยอวิชชา คือความโง่เขลาหลงงมงาย มีความรักความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ
รวมความแล้ว ความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้นจนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชาความโ่ง่เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออกด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอน จึงจะพ้นสังขารนี้ได้
๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้นญาณนี้ไม่เห็นอธิบายชัดเพราะมีอาการซ้อน ๆกันอยู่ ควรเอาปฏิจจสมุปบาทเป็นเครื่องพิจารณา
๙.สัจจานุโลมิกญาณ
พิจารณาญาณนั้นหมดย้อนไปย้อนมาให้เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า สังขารที่เป็นแดนของความทุกข์ เพราะอาศัยตัณหา จึงมีทุกข์หนักอย่างนี้ พิจารณาเห็น่วา สังขาร มีทุกข์ประจำเป็นปกติ ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์เลย อย่างนี้ เรียกว่าเห็นทุกขสัจจะ เป็นอริยสัจที่ ๑
พิจารณาเห็นว่า ทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้ เพราะอาศัยตัณหา ความทะยานอยาก ๓ ประการ คืออยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น อยากปฏิเสธ ในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยากทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา
ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ก็เพราะ เข้าถึงจุดของความดับ คือนิโรธเสียได้
จุดดับนั้นท่านวางมาตรฐานไว้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่า มรรค แปด ย่อลงเหลือ ๓ คือศีล สมาธิ ปัญญานี้ เพราะอาศัยศีลบริบรูณ์ สมาธิเป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจไม่พอในเสียได้ ตัดอารมณ์พอใจในโลกวิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสียได้ ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ ๔ ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่อง จนจิตครอบงำความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิตเสียได้ ชื่อว่าท่านได้วิปัสสนาญาณ ๙ และอริยสัจ ๔ แต่อย่าเพ่อพอ หรือคิดว่า ดีแล้วต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้แล้ว นั่นแหละ ชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว
(จบวิปัสสนาญาณได้โดยย่อเพียงเท่านี้)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น