อานิสงส์การปฏิบัติ
อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ประโยชน์ของการกำหนด
๑. จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ( ขณิกสมาธิ )
๒. เกิดสติสัมปชัญญะละอัตตาตัวตน
๓. สั่งสมเหตุปัจจัย เพื่อเว้นไกลจากกิเลส
๔. รู้ถ้วนทั่วอย่างวิเศษ ในปัจจุบันขณะ
๕. ละความเกียจคร้าน สะสมญาณหยั่งรู้
๖. กอบกู้อิสรภาพกำหราบกิเลส
ประโยชน์ของการกำหนด
๑. จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ( ขณิกสมาธิ )
๒. เกิดสติสัมปชัญญะละอัตตาตัวตน
๓. สั่งสมเหตุปัจจัย เพื่อเว้นไกลจากกิเลส
๔. รู้ถ้วนทั่วอย่างวิเศษ ในปัจจุบันขณะ
๕. ละความเกียจคร้าน สะสมญาณหยั่งรู้
๖. กอบกู้อิสรภาพกำหราบกิเลส
ประโยชน์ของการนั่ง กำหนด ( สมาธิ )
๑. จิตตั้งมั่น และเป็นสมาธิได้ง่าย
๒. สภาวธรรมปรากฏค่อนข้างชัดเจน
๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน
๔. เป็นอิริยาบถที่อื้อต่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพานได้มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ
๕. เป็นอิริยาบถที่รวมความพร้อม เพื่อการบรรลุธรรมในขั้นต่าง ๆ กระทั่งสูงสุด
๑. จิตตั้งมั่น และเป็นสมาธิได้ง่าย
๒. สภาวธรรมปรากฏค่อนข้างชัดเจน
๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน
๔. เป็นอิริยาบถที่อื้อต่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพานได้มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ
๕. เป็นอิริยาบถที่รวมความพร้อม เพื่อการบรรลุธรรมในขั้นต่าง ๆ กระทั่งสูงสุด
ประโยชน์ของการยืนกำหนด
๑. ทำให้การกำหนดเกิดความต่อเนื่องกัน
๒. จิตเป็นสมาธิได้ค่อนข้างง่าย
๓. ทุกขเวทนามีน้อย ใช้พื้นที่น้อยในการกำหนด
๔. ทำลายบัญญัติของรูปยืน เป็นสภาพรู้อาการ
๕. ทำให้เข้าใจสภาพของเหตุปัจจัย อันอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
๑. ทำให้การกำหนดเกิดความต่อเนื่องกัน
๒. จิตเป็นสมาธิได้ค่อนข้างง่าย
๓. ทุกขเวทนามีน้อย ใช้พื้นที่น้อยในการกำหนด
๔. ทำลายบัญญัติของรูปยืน เป็นสภาพรู้อาการ
๕. ทำให้เข้าใจสภาพของเหตุปัจจัย อันอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ประโยชน์ของการเดินจงกรม ๕ ประการ
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อการกระทำความเพียร
๓. ช่วยย่อยอาหาร
๔. ช่วยขับลมออกจากตน
๕. ทำสมาธิให้ดียิ่งขึ้น
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อการกระทำความเพียร
๓. ช่วยย่อยอาหาร
๔. ช่วยขับลมออกจากตน
๕. ทำสมาธิให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการกำหนดอิริยาบถย่อย
๑. ปิดช่องว่างการกำหนด ในอิริยาบถอื่น ๆ
๒. ทำให้การกำหนดมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย
๓. วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกื้อกูลกันค่อนข้างมาก
๔. ส่งเสริมให้อินทรีย์ ๕ เท่ากัน ( สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา )
๕. มีความรอบคอบ ไม่หลงลืม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ด้วย
๑. ปิดช่องว่างการกำหนด ในอิริยาบถอื่น ๆ
๒. ทำให้การกำหนดมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย
๓. วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกื้อกูลกันค่อนข้างมาก
๔. ส่งเสริมให้อินทรีย์ ๕ เท่ากัน ( สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา )
๕. มีความรอบคอบ ไม่หลงลืม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ด้วย
ประโยชน์ของการนอนกำหนด
๑. ช่วยให้หลับง่าย เพราะไม่กังวล
๒. จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
๓. เป็นการพักผ่อน และเป็นการเชื่อมโยงอิริยาบถอื่น ๆให้สม่ำเสมอ
๑. ช่วยให้หลับง่าย เพราะไม่กังวล
๒. จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
๓. เป็นการพักผ่อน และเป็นการเชื่อมโยงอิริยาบถอื่น ๆให้สม่ำเสมอ
ข้อที่ควรระวัง
- ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน เซื่องซึม เกิดขึ้นได้ง่าย
- ไม่ควรนอนมากเกินไปสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติจริง ๆ อย่างมากไม่ควรเกิน ๖ ชั่วโมง
- ความเกียจคร้านเกิดขึ้นได้ง่าย อย่าเห็นแก่นอนเกินไป
- นักปฏิบัติที่มุ่งความสุขสงบในชีวิตต้องการหลับพักผ่อน ไม่ต้องตั้งใจกำหนดมาก
- ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน เซื่องซึม เกิดขึ้นได้ง่าย
- ไม่ควรนอนมากเกินไปสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติจริง ๆ อย่างมากไม่ควรเกิน ๖ ชั่วโมง
- ความเกียจคร้านเกิดขึ้นได้ง่าย อย่าเห็นแก่นอนเกินไป
- นักปฏิบัติที่มุ่งความสุขสงบในชีวิตต้องการหลับพักผ่อน ไม่ต้องตั้งใจกำหนดมาก
อานิสงส์การปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑. ทำให้สุขภาพทางร่างกาย และจิตใจดีขึ้น
๒. ทำให้จิตใจเบิกบาน เอิบอิ่ม แช่มชื่น
๓. ความวิตกกังวล และความเครียดลดลงอย่างมาก
๔. เป็นผู้มีสติรู้เท่าทัน มีความผิดพลาดน้อย
๕. มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ดีขึ้น
๖. ไม่ตกใจกลัว เพราะเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ
๗. มีความกล้าหาญ ในการกระทำคุณงามความดีอย่างสม่ำเสมอไม่ท้อถอยเบือหน่าย
๘. ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เพราะเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของชีวิต ( ขันธ์ ๕ )
๙. สามารถทำลายความโลภ ( อภิชฌา ) ความโกรธ ( โทมนัส ) ให้ลดลงหรือหมดไปได้
๑๐. ชื่อว่าเป็นเตรียมความพร้อม และได้สะสมเหตุปัจจัย เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจ ๔ อันจะนำไปสู่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส ( ความยึดมั่นถือมั่นด้วยโมหะ) และกองทุกข์ทั้งมวล ได้ในปัจจุบันชาตินี้ หรือถ้าผู้ปฏิบัติกระทำอย่างต่อเนื่อง จะไม่เกิน ๗ ปี เป็นอย่างช้าควรจะได้บรรลุ อริยมรรค อริยผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน
๑. ทำให้สุขภาพทางร่างกาย และจิตใจดีขึ้น
๒. ทำให้จิตใจเบิกบาน เอิบอิ่ม แช่มชื่น
๓. ความวิตกกังวล และความเครียดลดลงอย่างมาก
๔. เป็นผู้มีสติรู้เท่าทัน มีความผิดพลาดน้อย
๕. มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ดีขึ้น
๖. ไม่ตกใจกลัว เพราะเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ
๗. มีความกล้าหาญ ในการกระทำคุณงามความดีอย่างสม่ำเสมอไม่ท้อถอยเบือหน่าย
๘. ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เพราะเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของชีวิต ( ขันธ์ ๕ )
๙. สามารถทำลายความโลภ ( อภิชฌา ) ความโกรธ ( โทมนัส ) ให้ลดลงหรือหมดไปได้
๑๐. ชื่อว่าเป็นเตรียมความพร้อม และได้สะสมเหตุปัจจัย เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจ ๔ อันจะนำไปสู่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส ( ความยึดมั่นถือมั่นด้วยโมหะ) และกองทุกข์ทั้งมวล ได้ในปัจจุบันชาตินี้ หรือถ้าผู้ปฏิบัติกระทำอย่างต่อเนื่อง จะไม่เกิน ๗ ปี เป็นอย่างช้าควรจะได้บรรลุ อริยมรรค อริยผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน
ดังพระพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในท้ายสติปัฏฐานสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ( ๑๒/๑๐๓ -๑๒๗ )มีเนื้อความโดยสังเขป ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปีจงยกไว้ ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุความเป็นอนาคามี ในชาติปัจจุบันนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปีจงยกไว้ ก็ผู้หนึ่งผู้ใด พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งผล อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างคือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุความเป็นอนาคามี ในปัจจุบันชาตินี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปี จงยกไว้... ๔ ปี... ๓ ปี... ๒ ปี... ๑ ปี... ๗ เดือน... ๖ เดือน... ๕ เดือน... ๔ เดือน... ๓ เดือน... ๒ เดือน... ๑ เดือน... จงยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครึ่งเดือน จงยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังได้ ซึ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุเป็นพระอนาคามี ในชาติปัจจุบันนี้แล
เพราะอาศัยคำกล่าวนี้ ตถาตคจึงกล่าวคำ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว (ข้างต้น) นั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อระงับความโศก และความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อแจ้งพระนิพพาน ทางเดียวนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้แลฯ
เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก ทุกคนสามารถกระทำได้ในชีวิตประจำวัน ของแต่ละคนเพียงแต่ให้เรามี สติ สัมปชัญญะ สังเกตอากัปกริยาหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าท่านจะกำลังกระทำอะไรอยู่ก็ตาม ถ้าเป็นคนชั่งสังเกตสติปัญญาก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา กิเลสตัณหาจะไม่สามารถเข้ามาบงการชีวิตท่าน ให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ ขณะที่ท่านกำหนดอยู่ กุศล (ความดีงาม) ก็เกิดขึ้นในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ความชั่วหรือบาปก็หลีกไป ถ้าหมั่นกำหนดอยู่เสมอๆ เท่ากับว่าเราได้พัฒนาความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และยังได้ชื่อว่ารักษาความดีเอาไว้ด้วย
สำหรับผู้ปฏิบัติที่มีเวลามาก และสามารถทุ่มเทให้กับปฏิบัติอย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เลือกครูบาอาจารย์ ที่ทรงความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่เคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างน้อย ๑ ปี รวมทั้งเป็นผู้สามารถให้คำปรึกษา และแก้อารมณ์กรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ไม่หลงทาง หรือยึดติดในสภาพของอัตตา เลือกสถานที่หรือสำนักปฏิบัติที่เป็นสัปปายะ ( สงัดเงียบ ปราศจากเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา การคมนาคมสะดวก อาหาร และอาคารสถานที่มีความเกื้อกูลแก่ผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่อัตภาพ) เมื่อท่านเลือกครูบาอาจารย์ (กัลยาณมิตร) และสถานที่อันเหมาะสมแล้ว ควรทุ่มเทกายใจมุ่งสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเล่นๆ เพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์ (ปัญหา) ไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ควรทำอย่างตั้งใจ ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจะเป็นบทพิสูจน์เองว่า ความจริงของโลกและชีวิตคืออะไร มรรค ผล นิพพานมีจริงไหม ความดับไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์เป็นเช่นใด เมื่อท่านปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านจะพบความจริงเช่นที่ว่านั้น โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถามใคร คำตอบอยู่ที่การปฏิบัติของท่านเอง ถ้าแน่ใจ และเชื่อมั่นในความสามารถที่มีอยู่ จงลงมือปฏิบัติดูเถิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปีจงยกไว้ ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุความเป็นอนาคามี ในชาติปัจจุบันนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปีจงยกไว้ ก็ผู้หนึ่งผู้ใด พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งผล อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างคือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุความเป็นอนาคามี ในปัจจุบันชาตินี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปี จงยกไว้... ๔ ปี... ๓ ปี... ๒ ปี... ๑ ปี... ๗ เดือน... ๖ เดือน... ๕ เดือน... ๔ เดือน... ๓ เดือน... ๒ เดือน... ๑ เดือน... จงยกไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครึ่งเดือน จงยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้หนึ่งผู้ใด พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังกล่าวมานั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังได้ ซึ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็บรรลุเป็นพระอนาคามี ในชาติปัจจุบันนี้แล
เพราะอาศัยคำกล่าวนี้ ตถาตคจึงกล่าวคำ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว (ข้างต้น) นั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อระงับความโศก และความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อแจ้งพระนิพพาน ทางเดียวนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้แลฯ
เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก ทุกคนสามารถกระทำได้ในชีวิตประจำวัน ของแต่ละคนเพียงแต่ให้เรามี สติ สัมปชัญญะ สังเกตอากัปกริยาหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าท่านจะกำลังกระทำอะไรอยู่ก็ตาม ถ้าเป็นคนชั่งสังเกตสติปัญญาก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา กิเลสตัณหาจะไม่สามารถเข้ามาบงการชีวิตท่าน ให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ ขณะที่ท่านกำหนดอยู่ กุศล (ความดีงาม) ก็เกิดขึ้นในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ความชั่วหรือบาปก็หลีกไป ถ้าหมั่นกำหนดอยู่เสมอๆ เท่ากับว่าเราได้พัฒนาความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และยังได้ชื่อว่ารักษาความดีเอาไว้ด้วย
สำหรับผู้ปฏิบัติที่มีเวลามาก และสามารถทุ่มเทให้กับปฏิบัติอย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เลือกครูบาอาจารย์ ที่ทรงความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่เคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างน้อย ๑ ปี รวมทั้งเป็นผู้สามารถให้คำปรึกษา และแก้อารมณ์กรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ไม่หลงทาง หรือยึดติดในสภาพของอัตตา เลือกสถานที่หรือสำนักปฏิบัติที่เป็นสัปปายะ ( สงัดเงียบ ปราศจากเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา การคมนาคมสะดวก อาหาร และอาคารสถานที่มีความเกื้อกูลแก่ผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่อัตภาพ) เมื่อท่านเลือกครูบาอาจารย์ (กัลยาณมิตร) และสถานที่อันเหมาะสมแล้ว ควรทุ่มเทกายใจมุ่งสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเล่นๆ เพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์ (ปัญหา) ไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ควรทำอย่างตั้งใจ ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจะเป็นบทพิสูจน์เองว่า ความจริงของโลกและชีวิตคืออะไร มรรค ผล นิพพานมีจริงไหม ความดับไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์เป็นเช่นใด เมื่อท่านปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านจะพบความจริงเช่นที่ว่านั้น โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถามใคร คำตอบอยู่ที่การปฏิบัติของท่านเอง ถ้าแน่ใจ และเชื่อมั่นในความสามารถที่มีอยู่ จงลงมือปฏิบัติดูเถิด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น