การยืนกำหนด
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ. ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ
๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหลัง
๒. ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปไกลประมาณ 2-3 เมตร
๓. สติระลึกรู้อาการยืน คือร่างกายที่ตั้งตรงกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๓ ครั้ง
๔. ขณะที่บริกรรมในใจว่า "ยืนหนอ" ต้องรู้สึกตัวว่า ตนเองยืนอยู่จริงๆ
๕.จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหลัง
๒. ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปไกลประมาณ 2-3 เมตร
๓. สติระลึกรู้อาการยืน คือร่างกายที่ตั้งตรงกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๓ ครั้ง
๔. ขณะที่บริกรรมในใจว่า "ยืนหนอ" ต้องรู้สึกตัวว่า ตนเองยืนอยู่จริงๆ
๕.จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการยืน
๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่นๆ
๒. ไม่ควรก้มจนเกินไป หรือแหงนหน้ามองสิ่งอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
๓. ไม่กำหนดอาการพอง-ยุบ (เว้นไว้แต่กรณีที่จำเป็นเท่านั้น)
๔.ไม่เพ่งดูสัณฐานบัญญัติส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้องตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น ที่ถูกแล้วควรกำหนดรู้เพียงแค่อาการหรือความรู้สึกตัวขณะที่ยืนอยู่เท่านั้น
๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่นๆ
๒. ไม่ควรก้มจนเกินไป หรือแหงนหน้ามองสิ่งอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
๓. ไม่กำหนดอาการพอง-ยุบ (เว้นไว้แต่กรณีที่จำเป็นเท่านั้น)
๔.ไม่เพ่งดูสัณฐานบัญญัติส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้องตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น ที่ถูกแล้วควรกำหนดรู้เพียงแค่อาการหรือความรู้สึกตัวขณะที่ยืนอยู่เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น